ต้นไม้ฟอกอากาศ ที่ควรมีในบ้าน ดูดสารพิษได้ แต่งบ้านก็สวย
มลภาวะทางอากาศในเมืองไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกที ทั้งฝุ่น PM2.5 และเขม่าควันจากยวดยานพาหนะ ที่เป็นตัวการหลักทำให้อากาศบริสุทธิ์หดหายไปเรื่อย ๆ หลายคนเริ่มหันมาพึ่งพาเครื่องฟอกอากาศ (คลิกอ่าน 10 เครื่องฟอกอากาศกรองฝุ่น PM2.5 พร้อมดักจับเชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้) แต่ก็มีคนที่เริ่มหันมาปลูกและสนใจ ต้นไม้ฟอกอากาศ ภายในบ้านเพื่อดูดซับสารพิษต่าง ๆ กันมากขึ้นจนเกิดเป็นเทรนด์ฮิตขึ้นมา
1. เดหลี
2. เบญจมาศ
เบญจมาศ (Chrysanthemum, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dendranthemum
grandifflora) ไม้ดอกสีสันสดใสที่คนชอบปลูกในบ้าน มีส่วนช่วยในการกรองสารพิษ
อย่าง แอมโมเนียและเบนซีน ซึ่งเป็นสารพิษที่พบมากในพลาสติก ผงซักฟอก และกาว
ปลูกง่าย เลี้ยงง่าย มีหลายสายพันธุ์ มีขนาดเล็ก สูงประมาณ 75-80 เซนติเมตร ปลูก
จนโตเต็มที่แล้วก็ตัดมาเสียบแจกันประดับตกแต่งบ้านหรือห้องพักได้อีกด้วย
วิธีปลูกเบญจมาศ
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : กลางแจ้ง ริมระเบียง หรือปลูกในห้องนั่งเล่น,ห้องครัว
แสง : ชอบแดดจัด
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-45 องศาเซลเซียส
3. ตีนตุ๊กแกฝรั่ง
ตีนตุ๊กแกฝรั่ง (English Ivy, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hedera helix) ช่วยดูดซับและกำจัด
สารเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน ไซลีน และโทลูอีน ออกจากอากาศได้
เป็นไม้เถาเลื้อย ใบเป็นแฉกคล้ายใบตำลึง มีหลากสี หลายพันธุ์ ปรับตัวได้ดี ดูแลไม่
ยาก ได้รับความนิยมในการนำไปปลูกเพื่อแต่งบ้านในแถบยุโรป จับมาใส่กระถางวาง
บนชั้นให้ใบค่อย ๆ ห้อยลงมาก็สวยไปอีกแบบ
วิธีปลูกต้นตีนตุ๊กแกฝรั่ง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม เช่น ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-30 องศาเซลเซียส
4. ลิ้นมังกร
ลิ้นมังกร (Snake plant หรือ Mother-in-law’s tongue, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ
Sansevieria laurentii) พืชในร่มที่แข็งแรงและสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ต้องดูแลเยอะ
มีอายุอยู่ได้หลายปี สามารถกำจัดสารพิษที่ระเหยอยู่ในอากาศได้อย่างดี และยังช่วย
ผลิตออกซิเจนที่บริสุทธิ์ในเวลากลางคืนด้วย ใบเป็นรูปหอก แข็ง หนา ตั้งตรง มี
ลวดลาย สีเขียวเข้มอมเทา พร้อมแถบสีเขียวอ่อนพาด หลายคนจึงนิยมนำมาประดับ
ตกแต่งห้อง
วิธีปลูกลิ้นมังกร
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม เช่น ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ห้องน้ำ
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-45 องศาเซลเซียส
5. เยอบีรา
วิธีปลูกเยอบีรา
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงแดดรำไร
การรดน้ำ: 2-3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-25 องศาเซลเซียส
6. พลูด่าง
พลูด่าง (Money Plant หรือ Devil’s ivy, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Epipremnum
aureum) สามารถกำจัดสารเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไซลีน และโทลูอีน ที่อยู่ในอากาศ
ได้ ปลูกง่าย ตายยาก เหมาะปลูกในอาคารหรือที่อยู่อาศัย มีข้อควรระวังเล็กน้อย คือ
ใบเป็นพิษต่อเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง หากมีสัตว์เลี้ยงต้องปลูกให้สูงขึ้นสักนิดนะคะ
วิธีปลูกพลูด่าง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ที่ไหนก็ได้ แต่ให้ห่างจากเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-45 องศาเซลเซียส
7. แก้วกาญจนา
แก้วกาญจนา อโกลนีมา หรือเขียวหมื่นปี (Aglaonema หรือ Chinese Evergreen,
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Aglaonema commutatum) ช่วยกำจัดเบนซีนและ
ฟอร์มาลดีไฮด์ รวมถึงสร้างออกซิเจนในปริมาณมากด้วย มีพันธุ์ที่เป็นที่นิยมมากกว่า
100 สายพันธุ์ สีสันฉูดฉาดสวยงาม แต่งบ้านได้หลายมุม แต่ผลัดใบง่าย ต้องดูแลเป็น
พิเศษ
วิธีปลูกแก้วกาญจนา
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส
8. เศรษฐีเรือนใน
เศรษฐีเรือนใน (Spider plant หรือ Airplane Plant, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ
Chlorophytum comosum) สามารถกำจัดสาร VOC หรือสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่มัก
พบในสารประกอบหรือสารทำละลายในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึง
คาร์บอนมอนอกไซด์และไซลีนด้วย เป็นพุ่มใบเรียวสีเขียว-เหลือง โค้งงอแผ่ขยายลง
ด้านล่าง ปลูกในกระถางเล็ก ๆ ก็น่ารักน่าเอ็นดู
วิธีปลูกเศรษฐีเรือนใน
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส
9. ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Aloe barbadensis mill) พืชที่มี
สรรพคุณครอบจักรวาล นำมาใช้รักษาโรคตั้งแต่สมัยโบราณ ทนทานต่อทุกสภาพ
อากาศ และมีประสิทธิภาพในการกำจัดเบนซีนและฟอร์มาลดีไฮด์ เนื้อข้างในยัง
สามารถนำไปทำอาหาร ขนม และเครื่องดื่มได้หลายเมนูด้วย
วิธีปลูกว่านหางจระเข้
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ริมระเบียงที่รับแสง
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงแดดรำไร
การรดน้ำ : 2 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อหน้าดินเริ่มแห้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-45 องศาเซลเซียส
10. จั๋ง
จั๋ง (Broad Lady Palm หรือ Bamboo palm, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chamaedorea
seifrizii) ช่วยดูดซับและกำจัดเบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน ไซลีน และโท
ลูอีน ในอากาศ ช่วยลดระดับแอมโมเนียที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหลาย
ประเภทได้ด้วย ลักษณะต้นเป็นกอ สูงประมาณ 2-4 เมตร ใบเป็นแฉกคล้ายพัด สีเขียว
เข้มเป็นมัน ปลูกในภาชนะสาน หรือไม้ จะช่วยแต่งห้องให้ดูมินิมอลมากขึ้น
วิธีปลูกจั๋ง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ทางเข้าบ้าน
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 2-3 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-35 องศาเซลเซียส
11. ยางอินเดีย
ยางอินเดีย (Rubber Plant หรือ India Rubber Fig, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Ficus
elastica) ด้วยใบที่มีขนาดใหญ่ จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซับและกำจัด
ฟอร์มาลดีไฮด์ สารเคมี รวมถึงช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนให้เป็น
ออกซิเจนที่บริสุทธิ์ และยังสามารถกำจัดแบคทีเรียและสปอร์ของเชื้อราในอากาศได้
อีกด้วย เป็นไม้ยืนต้น ใบกลมหนา สีต่างกันไปตามสายพันธุ์ เช่น เขียว เหลือง และแดง
เรามักจะเห็นบ่อยตามคาเฟ่ หากใครอยากแต่งห้องครัวสไตล์คาเฟ่เก๋ ๆ ต้องซื้อมาลอง
วิธีปลูกยางอินเดีย
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม, ในสวนที่มีพื้นที่ เพราะต้นยางอินเดียสามารถสูงได้ถึง 1-2 เมตร จึงควรเลือกปลูกในบริเวณที่มีพื้นที่
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 12-30 องศาเซลเซียส
12. หน้าวัว
หน้าวัว (Anthurium, Flamingo Flower หรือ Pigg-tail flower, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ
Anthurium andraeanum) เป็นไม้ดอกไม้ประดับสำหรับแต่งบ้านที่ช่วยดูดซับและ
กำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน และโทลูอีน ในอากาศได้ ใบสวยงามแต่แตก
ต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นรูปหัวใจ ดอกออกเหนือก้านใบ ออกได้ตลอดทั้งปี ปลูกติดบ้านไว้
มองเห็นตอนไหนก็ชื่นใจแน่นอน
วิธีการปลูกหน้าวัว
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส
13. ฟิโลเดนดรอน ใบหัวใจ
ฟิโลเดนดรอน ใบหัวใจ (Philodendron Heartleaf หรือ Sweetheart plant, ชื่อ
วิทยาศาสตร์คือ Philodendron cordatum) มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาด
ฟอร์มาลดีไฮด์โดยเฉพาะ ลักษณะเป็นไม้เลื้อย ใบรูปหัวใจสีเขียวสดใส ใบใหญ่
สวยงาม เข้ากันดีกับการแต่งบ้านสไตล์ลอฟท์ ปูนเปลือย ทำให้บ้านดูเท่และสดชื่นขึ้น
วิธีปลูกฟิโลเดนดรอน
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3-4 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส
14. เฟิร์นบอสตัน
วิธีปลูกเฟิร์นบอสตันในบ้าน
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-35 องศาเซลเซียส
15. ไทรย้อยใบแหลม
ไทรย้อยใบแหลม (Weeping Fig, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Ficus benjamina) สามารถ
กำจัดเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไซลีน และโทลูอีน ได้ เป็นไม้ยืนต้น ใบหนาเป็นมัน ปรับ
ตัวได้ดีกับทุกสภาพอากาศ จึงได้รับความนิยมนำมาปลูกเป็นอย่างมาก
วิธีปลูกไทรย้อยใบแหลม
ตำแหน่งที่ควรปลูก : ห้องนั่งเล่น, ริมระเบียงที่รับแสง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : กลางแจ้ง ห้องนั่งเล่น, ริมระเบียงที่รับแสง
สภาพแสง : แดดจ้า, แสงแดดรำไร
การรดน้ำ : 3-4 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส
เพราะการอยู่บ้านที่มีอากาศบริสุทธิ์เป็นเรื่องที่สำคัญ เราจึงอยากให้ทุกคนหัน
มาสนใจเรื่อง ต้นไม้ฟอกอากาศ กัน ยิ่งมีการรับรองจากนาซาด้วยแล้วว่า ต้นไม้เหล่านี้
สามารถกำจัดสารพิษและคืนอากาศบริสุทธิ์ให้แก่คุณได้จริง จะรอช้าอยู่ไย ไปปลูก
ต้นไม้เหล่านี้ในบ้านของคุณกันเถอะ
ต้นไม้ฟอกอากาศ ที่ควรมีในบ้าน ดูดสารพิษได้ แต่งบ้านก็สวย ออกแบบบริเวณบ้าน